วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2564

พรรณไม้เฉพาะส่วน

 

    🌻🌻


 ประดู่กิ่งอ่อน

      เป็นไม้ต้น สูง 10 เมตร กว้าง 7 เมตร รูปร่ม ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงได้เอง 
ผิวหยาบ แตกเป็นสะเก็ด เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ต้นอ่อนสีเขียวอ่อน 
ต้นแก่สีน้ำตาลคล้ำ มียาง ไม่มีสี ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบอ่อนสีเขียวอ่อน 
ใบแก่สีเขียวเข้ม กว้าง 1-7 เซนติเมตร ยาว 3-12 เซนติเมตร ใบยอดมี 4-10 ใบ 
แผ่นใบหน้าเกลี้ยง ทั้งสองใบเรียงสลับระนาบเดียว รูปรีและรูปไข่ ปลายใบแหลม 
โคนใบมน ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อเชิงลด  ออกดอกตรงปลายยอด  
กลีบเลี้ยงติดกัน  มี   4  กลีบ สีเขียว  กลีบดอกมีสีเหลือง  เกสรตัวผู้  10  อัน  
สีเหลือง รังไข่ใต้กึ่งวงกลีบ กลิ่นหอม  กลีบดอกติดกัน  เป็นรูปถั่ว  ผลสด  
เป็นรูปวงกลมแบน   ผลอ่อนมีสีเขียวผลแก่มีสีน้ำตาล  1  เมล็ดต่อ  1  ผล 
ประโยชน์ของประดู่กิ่งอ่อน เนื้อไม้ใช้สร้างเครื่องเรือน แก่น ให้สีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า


 ประดู่แดง  

เป็นไม้ต้นสูง  12 เมตร ทรงพุ่มกว้าง 10 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ 
ใบย่อย 6-10ใบคู่ที่ปลายใหญ่ที่สุด แผ่นใบไม่สมมาตร รูปใบหอกถึงรูปไข่ โคนใบมน 
ปลายใบแหลม ดอกออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งก้าน 
กลีบเลี้ยง 4 กลีบสีแดง กลีบดอก 3 กลีบ สีแดงอมส้ม ผล  
เป็นฝักแบนรูปขอบขนานโค้งเล็กน้อย เมล็ดแบน
ประโยชน์ของประดู่แดง ปลูกเป็นไม้ประดับ


 ประดู่แดง  

เป็นไม้ต้นสูง  12 เมตร ทรงพุ่มกว้าง 10 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ 
ใบย่อย 6-10ใบคู่ที่ปลายใหญ่ที่สุด แผ่นใบไม่สมมาตร รูปใบหอกถึงรูปไข่ 
โคนใบมน ปลายใบแหลม ดอกออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งก้าน 
กลีบเลี้ยง 4 กลีบสีแดง กลีบดอก 3 กลีบ สีแดงอมส้ม ผล  
เป็นฝักแบนรูปขอบขนานโค้งเล็กน้อย เมล็ดแบน
ประโยชน์ของประดู่แดง  ปลูกเป็นไม้ประดับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น